สารพัดกาวติดหนึบ เลือกใช้กาวอย่างไรให้ถูกกับงาน

สารพัดกาวติดหนึบ เลือกใช้กาวอย่างไรให้ถูกกับงาน

กาวยาง ภาพจาก : www.youtube.com/watch?v=tNLLFlkzSEw กาวยางหรือเรียกอีกอย่างว่ากาวเหลือง (Contact adhesive) สามารถยึดติดกับวัสดุหลากหลายประเภท รวมถึงวัสดุที่มีรูพรุน อีกทั้งยังทนทานต่อสภาวะอากาศและอุณหภูมิสูง กาวยางนั้นมีหลายเกรดขึ้นอยู่การเลือกนำไปใช้งานของผู้ใช้ เวลาเลือกซื้อก็ลองถามคนขายดูก่อนครับ วัสดุที่เหมาะในการใช้งาน : หนัง ยาง ผ้าใบ พีวีซี พรม ไฟเบอร์ งานไม้ พลาสติก และโลหะ กาวขาว ภาพจาก : www.polyseam.com กาวขาวหรือเรียกอีกอย่างว่า กาวกร๊าฟท์ (Graft adhesive) เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมรองเท้า แต่จริงๆแล้วก็สามารถใช้กับวัสดุชนิดอื่นได้อีก มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาวะอากาศและอุณหภูมิสูงได้เป็นอย่างดี วัสดุที่เหมาะในการใช้งาน : ยาง ฟองน้ำ หนัง ไนล่อน พียู หนังพียู พีวีซี กาวซิลิโคน Advertisement ภาพจาก : www.doityourself.com กาวที่มีส่วนผสมของสารเพอลิเมอร์ที่ต้านทานทั้งความร้อน รั่ว ซึม ซึ่งปัจจุบันนี้ได้นำมาใช้เป็นวัสดุอุดประสานรอยต่อ รอยร้ัาว รั่ว ซึมในวงการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กาวซิลิโคนชนิดมีกรดและกาวซิลิโคนชนิดไม่มีกรด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีข้อดี-ข้อด้อย และเหมาะกับพื้นผิวแตกต่างกัน ปัจจุบันกาวซิลิโคนมีหลายสี อย่างชนิดสีใสเหมาะกับงานกระจกทั่วไป ชนิดสีขาวเหมาะสำหรับงานสุขภัณฑ์ และชนิดสีดำจะเหมาะกับพื้นผิวที่มีสีเข้มๆ วัสดุที่เหมาะในการใช้งาน : กระจก กระเบื้อง ปูน แกรนิต (ขึ้นอยู่กับประเภทกาวซิลิโคน) กาวอะคริลิค ภาพจาก : www.hotmelt.com คุณสมบัติจะคล้ายคลึงกับกาวซิลิโคน แบ่งออกเป็นสองชนิดด้วยกัน คือ กาวอะครีลิคแบบเหลวและกาวอะครีลิคชนิดเนื้อข้น โดยกาวอะครีลิคแบบเหลวเหมาะสำหรับการใช้แปรงทาบนพื้นผิวที่มีปัญหา เช่น รอยแตกร้าวเล็กๆ ทั้งบนผนัง กระเบื้อง บนหลังคา ส่วนกาวอะครีลิคชนิดเนื้อข้น จะเหมาะสำหรับรอยแตกร้าว หรือจุดที่ต้องการเชื่อมประสานที่กว้างกว่าอย่างระหว่างขอบวงกบไม้กับปูน ดังนั้นก็ควรเลือกซื้องานให้ถูกต้องกันนะครับ วัสดุที่เหมาะในการใช้งาน : ไม้ ปูน กระเบื้อง...
Read More
การเลือกใช้ “ซิลิโคน” ยาแนวอเนกประสงค์กันรั่วซึม

การเลือกใช้ “ซิลิโคน” ยาแนวอเนกประสงค์กันรั่วซึม

การเลือกใช้ “ซิลิโคน” ยาแนวอเนกประสงค์กันรั่วซึม มีวัสดุอยู่หลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการกันรั่วซึมที่สถาปนิกแนะนำให้ใช้ และบรรจุอยู่ในรูปของหลอดที่มีรูปทรงเดียวกัน ซึ่งเราเหมาเรียกเหมือนกันหมดว่า "Silicone" (เหมือนกับที่เราๆท่านๆเรียกผงซักฟอกทุกชนิดว่า "แฟ้บ") **กลุ่มแรกเป็นพวกสารอะครีลิก (ACRYLIC) อะครีลิก ความจริงเป็นกาวตระกูลหนึ่งใช้กันมากในอุตสาหกรรมสี มีความเหนียว และยืดหยุ่นดีเมื่อแห้งแล้ว ไม่ละลายน้ำและทำตัวเป็นแผ่นฟิล์ม จึงมักมีการนำมาบรรจุหลอดให้เราใช้เป็นสารอุดกันรั่วซึมได้นอกจากนี้ในตลาดมีวางขายในรูปแบบลักษณะเป็นกระปุกอีกด้วย **กลุ่มที่สองเป็นพวกสารโพลียูเรเทน(POLY URETHANE) โพลียูเรเทน เป็นสารตระกูลไฮโดรคาร์บอน (H-C) มีการยึดเกาะกันของโมเลกุลที่เหนียวแน่น มีอยู่หลายสถานะและรูปแบบ ทำให้เราคุ้นหูและสับสนได้ง่าน เชน ยูเรเทนรักษาเนื้อไม้ **กลุ่มที่สามเป็นพวกสารซิลิโคน(SILICONE) ซิลิโคน เป็นโพลีเมอร์ที่เกิดจากพวกซิลีก้อนและออกซิเจน (Si-O) ความยืดหยุ่นตัวสูงมาก มีความแข็งแรงทางโครงสร้าง ทำให้มีการพัฒนารูปแบบการใช้จาก SEALANT SILICONE ไปจนถึง STRUCTURAL SILICONE และอีกมากมาย เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่าสารทั้งสามชนิดที่กล่าวถึงนี้มีพื้นฐานที่เราจะนำมาประยุกต์ใช้งานที่คล้ายคลึงกัน คือ มีคุณสมบัติเป็นกาวที่ใช้ยึดเกาะได้ดี มีความสามารถยืดได้ หดได้ เมื่อมีแรงมากระทำหรือมาดึงโดยไม่ฉีกขาดในระดับหนึ่ง เมื่อแห้งจะทำตัวคล้ายแผ่นฟิล์มยึดเกาะหรือคลุมทับ การเลือกใช้สารสารอุดรอยรั่วซึม-แตกร้าว การตัดสินใจเลือกว่าจะใช้สารตัวใดในการซ่อมบำรุงรอยแตกร้าว หรือช่วงว่างระยะห่างของอาคารจึงค่อนข้างมีความสับสน ทางสถาปนิกผู้รู้ มักแนะนำคนใฝ่รู้แบบเราๆท่านๆว่า "ซิลิโคน" มีความยืดหยุ่นสูงกว่าสองพวกแรกมีความแข็งแรงเชิงโครงสร้างมากกว่าคงทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า เพียงแต่ว่าพวกซิลิโคนนี้ทาสีไม่ติด ที่สำคัญซิลิโคนมีการพัฒนาแตกแขนงออกมามาก ทำให้การเลือกการใช้งานต้องมีความเข้าใจ ในลักษณะเฉพาะ ค่อนข้างสูง เช่น ถ้าเป็นซิลิโคนที่สภาพการแห้งเป็นกรด (ACID CURE) ก็ไม่เหมาะกับผนังที่มีสภาพเป็นด่าง เช่น ผนังปูน ผนังหินอ่อน ผนังหินแกรนิต เพราะอาจทำให้คุณสมบัติที่ดีของซิลิโคนผิดเพี้ยนไป การพิจารณาเลือกใช้ควรเลือกซิลิโคนที่มีสภาพการแห้งเป็นกลาง (NATURE CURE) จะให้ผลที่ดีกว่า และลักษณะการใช้ซิลิโคนตามคำแนะนำของผู้ผลิตมักแนะนำให้ใช้ในลักษณะเป็นตัวกลางกั้นระหว่างผิววัสดุที่กั้นน้ำได้ดี อีกทั้งต้องมีระยะห่างกันประมาณ 4-6 มิลลิเมตร เป็นต้น จะเห็นได้ว่าต้องพิถีพิถันกันพอสมควร แต่หากเป็น Polyurethane หรือ Acrylic พวกนี้จะใช้งานในลักษณะยิงอุดจนเต็มรอยแตกร้าว และปิดทับได้ดีกว่า อีกทั้งยังทาสีติดเพื่อเก็บงานให้ดูเรียบร้อยได้ดี ถึงแม้ทางด้านคุณสมบัติต่างๆจะด้อยกว่า ซิลิโคนก็ตาม หากถ้าเป็นการเก็บซ่อมรอยแตกร้าวที่ผิวผนังปูนฉาบต่างๆ จะมีความเหมาะสมในการใช้งานมากกว่าซิลิโคน เพราะเงื่อนไขในการหยิบมาใช้มีให้พิจารณาน้อยกว่าพวกซิลิโคน โดยถ้ารอยแตกร้าวมีโอกาสขยับตัวได้สูง แล้วต้องการความแข็งแรงในการยึดแน่น ควรใช้เป็นโพลียูเรเทน จะมีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าพวกอะครีลิกเพราะในแง่ความแข็งแรงทางโครงสร้างพวกอะครีลิกจะมีน้อยกว่านั่นเอง...
Read More
วิธีใช้กระบอกซิลิโคนยาแนว โดยประกอบเข้ากับปืนยิงซิลิโคน

วิธีใช้กระบอกซิลิโคนยาแนว โดยประกอบเข้ากับปืนยิงซิลิโคน

วิธีใช้กระบอกซิลิโคนยาแนว โดยประกอบเข้ากับปืนยิงซิลิโคน วิธีใช้กระบอกซิลิโคนกับปืนยิงยาแนว เครื่องมือที่ต้องเตรียม 1.กระบอกซิลิโคน 2.ปืนยิงซิลิโคน 3.ใบเลื่อย เอาไว้ตัดเปิดจุกซิลิโคนออก 4.คัตเตอร์เอาไว้ตัดปลายแหลมของฝาซิลิโคน วิธีการ 1.ใช้เลื่อยตัดฝาจุกซิลิโคนออกก่อน 2.ใช้คัตเตอร์ตัดปลายแหลมพลาสติกที่สวมต่อเข้ากับซิลิโคน 3.สวมซิลิโคนเข้ากับปืนยิงซิลิโคน โดยต้องดึงตัวดันให้ถอยไปสุดก่อน 4.บีบปืนยิงซิลิโคนจนดันก้นของซิลิโคน บีบไปเรื่อยๆจนซิลิโคนไหลออกมาทางฝาสวมปลายแหลม 5.หลังจากใช้งานเสร็จให้ปิดฝาจุกอย่าให้ลมเข้าไปได้ เพราะจะทำให้ซิลิโคนแข็งตัว ทางที่ดีใช้ให้หมดหลอดโดยไว อย่าเก็บไว้นาน จะเสื่อมสภาพและแข็งในที่สุด...
Read More